mixed reality

กันยายน 27, 2009

ขออนุญาติเปลี่ยนประเด็นในการเขียนเพื่อให้มีพลวัตรใน blog เล็กน้อยนะครับ ;])
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมกำลังสนใจเป็นอย่างมาก อยากแลกเปลี่ยน เชิญชวน ท่านๆ ที่สนใจเรื่องอะไรแบบนี้มาช่วยกันเขียน
มาช่วยกันปลอกเปลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ.ถ้วน ;]) ที่ดูเหมือนจะเป็นผู้เชียวชาญโดยตรง ;])

เรื่องที่สนใจก็คือการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่าง มันส่งผลยังไงต่อ การรับรู้ความจริงของเรา ตัวตนของเรา โลกของตัวเรา
สำหรับผมคิดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้คือ มันเกิดการซ้อนทับของเลเยอร์ใหม่ๆในชีวิตของคน (กลุ่มหนึ่ง) ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆ
นั้นคือ กลุ่มคนที่ความจริงถูกสร้างจากสื่อ + ประสบการณ์ทางกายภาพ + เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งโลก

นั้นคือโลกที่เกิดขึ้นไม่ได้ประกอบขึ้นจากประสบการณ์ทางกายภาพในชีวิตประจำวันเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
รอยต่อระหว่างโลกกายภาพกับโลกเสมือนกำลังเบลอเข้าหากันเรื่อยๆ และสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนนี้มีผลต่อเรามากพอๆกับโลกกายภาพขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทวิตเตอร์ของนักการเมืองดัง, ภาพข่าวที่น่าตื่นตระหนกจากอีกซีกโลก, facebook ของเราเอง, hi5 อะไรอีกมากมาย

ความจริงที่ผสมปนเปกำลังเกิดขึ้น โดยมี digital media devices ต่างๆ ทำหน้าที่เชื่อมโลกกายภาพและโลกเสมือนให้ประกอบเข้ามาอยู่ด้วยกันอย่างแนบแน่น

ดาราสามารถทำการ “ทะเลาะ” กันผ่าน โลกเสมือนได้
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลยังไงกับที่ว่าง และสถาปัตยกรรมบ้างครับ ?

ฝากมาให้ดูกันเล่นๆ ไอ้ตัวหนอนน้อยขาวๆนั้นผมชอบมันมากเลย!
อ้อ ถ้าอยากอยู่ในโลกเสมือนตลอดเวลา อย่าลืมเลือกคนที่บอกว่าจะติดอินเตอร์เน็ตไร้สายทั้งเมืองนะครับ
เราจะได้อัพ FB กันได้แม้ในห้องน้ำของปั้มน้ำมัน (ฮ่า) !

PS

6 Responses to “mixed reality”

  1. studiospaces Says:

    นั่งดูวิดิโอแล้วทำให้ผมนึกถึงงานตัวเอง เมื่อปีที่แล้วที่ตกรอบ
    เป็นประกวดแบบ sculpture ที่เมืองหนึ่งในออสเตรีเลีย
    เราตั้งชื่อมันว่า the blob น่าเศร้าที่มันตกรอบ
    เพื่อนผมมันบอกว่า สร้างไม่ได้หรอก สร้างยังไง !

    วิดิโอบอกมาแล้วว่ามันทำได้เฟร้ย!

    งานที่ว่าครับ

    http://axismundi.carbonmade.com/projects/2280445#19

    มีเรื่องตลกอีกเรื่องคือ
    เมื่อกี้ผมไปโฆษณา program remote ของไอพอดทัชให้พ่อ “เนี้ยมี home sharing ด้วย เราสามารถเข้าไฟล์จากที่ไหนก็ได้ของบ้าน เจ๋งมาก” พูดแล้วก็เปลี่ยนแทรคเพลงที่ตั้งอยู่ชั้นบนของบ้าน จากในสวนอย่างน่าอัศจรรย์ !

    พ่อบอกว่า แต่ว่ามันไม่มีวิทยุชุมชนคนล้านนานี่นา !
    อะ

    PS

  2. pongsantayanon Says:

    http://neellss.deviantart.com/gallery/

    ฝาก link นี้ด้วยค่ะ

    ืnocomment

  3. thaicourier Says:

    แอบมาดันเว็บเนิร์ดของตัวเอง คิดว่ามันน่าจะเชื่อมโลกเสมือน กับโลกจริงได้อีกเยอะมากหยดกระปุก เก็บเงิน

    http://thaicourier.wordpress.com/

  4. thaicourier Says:

    อยากจะประกาศให้โลกรู้ว่า เมืองไทยมีเจ้า Kindle ขายแล้ว ! หลังจาก ติด Blacklist อยู่นานแสนนาน เพราะฉะนั้นใครที่สนใจ จะ อ่านหนังสือเสมือนนี่เป็นโอกาสของเราแล้วนะเออ !!!!
    http://www.tablettweet.com/

  5. darunwat Says:

    ผมสนใจคำถามนี้นะครับขออนุญาตแจมหน่อย การตั้งคำถามเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงการรับรู้สภาพแวดล้อมของมนุษย์ในยุค digital ที่อยู่ในโลกเสมือนพอๆโลกของความจริงนั้น ผมนึกถึงคำพูดของนักคิดในสองยุคที่ให้ความหมายกับ identity ของมนุษย์ทั้งเดการ์ต และลากองคือ

    – I think, therefore i am.

    – I think where i am not, therefore i am where i do not think.

    แนวคิดทั้งสองสะท้อนแนวคิดที่มีต่อมนุษย์แบบ modern และ postmodern ได้เป็นอย่างดี ส่งผลต่อการจัดการ programing สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน

    ความยากของการออกแบบที่พยายามรวม space แบบ reality กับ virtual reality space เพราะไม่เข้าใจแนวความคิดที่แตกต่างกันที่มีต่อ identity ของมนุษย์ บางคนตกม้าตายเพราะ organize reality space ให้เป็น virtual reality spaceโดยใช้ programing แบบ modern ที่มอง ร่างกายของมนุษย์เพียงในมิติเดียว คือ มิติทางกายภาพ เป็นสสาร ไร้การคิด รับรู้ การตระหนักรู้ อยู่ในโลกแห่งวัตถุ จึงมุ่งเน้น ประโยชน์ใช้สอยในการออกแบบเป็นหลัก

    บางคนก็เข้าใจมากหน่อยก็ใช้ phenomenon ที่เน้น ประสบการณ์ไม่ติดกับ object มาออกแบบแต่อย่างไรก็ใช้จิตสำนึกของมนุษย์แบบ I think, therefore i am.ให้ความหมายกับ space อยู่ดี

    การออกแบบระดับนี้ บางทีอาจจะต้องเข้าใจระดับ จิตไร้สำนึก และเข้าใจการให้ความหมาย spaceของมนุษย์แบบ I think where i am not, therefore i am where i do not think. ที่มองมนุษย์ คือ ความคิด จินตนาการ เป็น liquid identity หลากเลื่อนเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบ ความพยายามในการใช้แนวคิดนี้ในการออกแบบ เช่น ผมเคยอ่านงานของ Dr.Margot Krasojevic ที่ AA ที่พูดถึง Immediate
    Environment ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาให้สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และพูดถึงโลกเสมือนในแนวคิดแบบ De-realization ที่ทุกสิ่งอยู่ใกล้เชื่อมต่อกันและเข้าถึงได้ง่าย โดยทำการลดทอนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้เหลือน้อยที่สุด ตามความต้องการของร่างกายในแนวคิดแบบโมเดริ์นเท่าที่จำเป็น โดยจัดการพื้นที่ภายในเป็น Free Plan แยกส่วนที่เป็นผนัง
    ออกจากโครงสร้างหลัก แล้ว organize จัดเรียงลำดับใหม่ให้สอดคล้องกับ liquid identity ของมนุษย์ บางครั้งมีการใช้ media และเทคโนโลยีต่างๆจัดการกับการสร้างImmediate Environment นี้ (ผมยังไม่เข้าใจใน detail เท่าไหร่นักไว้เข้าใจกว่านี้จะกลับมาคุยใหม่)

    กลับมาคิดถึงคำถามที่เคยตั้งไว้ว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจำเป็นเข้าใจแนวคิดปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังไหม? ถ้าบอกว่าไม่จำเป็น เราคงไม่เข้าใจประเด็นปัญหาของโจทย์ของการออกแบบลักษณะนี้ เราคงมองเห็นโจทย์ที่ตื้นเขินในระดับ function และใช้ programing ที่ตอบสนองแนวคิดมนุษย์แบบโมเดริ์นตามความเคยชินมาแก้ปัญหา แล้วก็เข้าใจงานสถาปัตยกรรมแต่เพียงรูปแบบ เห็นเขาออกแบบ architectural form แบบของไหลก็ไหลตามเข้าไปซะอย่างนั้น… บ่นเป็นตาแก่ขี้บ่นเลยครับวันนี้ แต่ก็ขอขอบคุณพื้นที่ในโลกเสมือนของ blog นี้ที่ให้ผมมาเพ้อเจ้อครับ

  6. bb Says:

    เดี๋ยวนี้มันกลายเป็น “I blog,therefore I am” หรือ “I update status,therefore I am” ไปซะแล้ว..ว


ใส่ความเห็น